วันอาทิตย์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism)

.......เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน ได้อธิบายว่า Constructivism คือ การ ที่ผู้เรียน ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วย ซึ่งสัมพันธ์กับทฤษฎีพัฒนาการทางปัญญา ของพีอาเจย์ การเรียนรู้เกิดจาก การค้นพบและประสบการณ์ ทฤษฎีนี้เกิดจาก ความคิดที่ว่า การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่ แต่ละบุคคลได้สร้าง ความรู้ขึ้นและ ทำให้สำเร็จ โดยผ่านกระบวนการ ของความสมดุล ซึ่งกลไกของความสมดุล เป็นการปรับตัว ของตนเอง ให้เข้ากับ สิ่งแวดล้อม เพื่อให้อยู่ใน สภาพสมดุล ประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง คือ

.....1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซาบหรือดูดซึมเอา ประสบการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิม ที่เหมือนหรือ คล้ายคลึงกัน โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจาก การเรียนรู้เดิมที่มีอยู่

.....2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม คือ เมื่อได้ซึมซาบ หรือดูดซึม เอาประสบการณ์ใหม่ เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้ว ก็จะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ ให้เข้ากับ โครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว แต่ถ้าไม่เข้ากันได้ก็จะทำการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ ใหม่นั้น

.......ทฤษฎีการสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง ผู้เรียนจะปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล จะมีระดับแตกต่างกันไป เรียกได้ว่าสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลมากขึ้นเป็นลำดับ และผู้เรียน จะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่ โดยผู้เรียนเองมีหลักการว่า การเรียนรู้ คือ การแก้ปัญหา ซึ่งขึ้นอยู่กับการค้นพบ ของแต่ละบุคคล และ ผู้เรียนจะมีแรงจูงใจจากภายใน ผู้เรียนจะเป็นผู้กระตือรือร้น มีการควบคุมตนเองและเป็นผู้ที่มีการตอบสนองด้วยจุดมุ่งหมาย ของการสอนจะมีการ ยืดหยุ่นโดยยึดหลักว่า ไม่มีวิธีการสอนใดที่ดีที่สุด ดังนั้นเป้าหมายของการออกแบบการสอนก็ควรจะ ต้อง พิจารณาเกี่ยวกับ การสร้างความคิดหรือปัญญาให้เป็นเครื่องมือ สำหรับนำเอาสิ่งแวดล้อมของการเรียนที่มีประโยชน์มา ช่วยให้เกิดการสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน การนำเอาทฤษฎีการเรียนรู้การสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเองมาใช้ จะต้องคำนึงถึง เครื่องมืออุปกรณ์การสอนด้วย เพราะทฤษฎีนี้เหมาะสำหรับเครื่องมืออุปกรณ์ที่ผู้เรียนสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือหาความรู้ ด้วยตนเอง เช่น คอมพิวเตอร์ ดังนั้นเครื่องมือทั้งHardware และ Software จะต้องเหมาะสมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ แนวคิด ของทฤษฎีนี้ได้แก่

.....1. ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม บุคคล เหตุการณ์ และสิ่งอื่นๆ และผู้เรียนจะปรับตนเองโดยการดูดซึม สร้าง โครงสร้างทางปัญญาใหม่ และการบวนการของความสมดุล เพื่อให้รับสิ่งแวดล้อมหรือความจริงใหม่เข้าสู่ความคิดของตนเองได้ 2. ในการนำเสนอหรืออธิบายความจริงที่ผู้เรียนสร้างขึ้นนั้น ผู้เรียนจะสร้างรูปแบบหรือตัวแทนของสิ่งของ ปรากฏการณ์ และ เหตุการณ์ขึ้นในสมองของผู้เรียนเอง ซึ่งอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

.....2. ผู้เรียนอาจมีผู้ให้คำปรึกษา (Mentor) เช่น ครูผู้สอนหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้ได้สร้างความหมายต่อความจริงหรือ ความรู้ที่ผู้เรียนได้รับเอาไว้ แต่อย่างไรก็ตาม ความหมายเหล่านั้นจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้

.....3. ผู้เรียนจะควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-regulated Learning)

 
 
การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา                 รายวิชา กีฬา ฟุตบอล

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10                                                 เรื่อง การเล่นทีม

ขั้นเตรียม

1. ให้นักเรียนเข้าแถวๆ ละเท่าๆกัน

2. ให้นักเรียนบอกทำความเคารพสำรวจเครื่องแตงกาย อุปกรณ์การเรียนและความพร้อม ทางร่างกายของนักเรียน

3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้

4.ครูนำเข้าสู่บทเรียนโดยการซักถามเกี่ยวกับการเล่นทีมของกีฬาฟุตบอล ยกตัวอย่างทีมฟุตบอลที่นักเรียนรู้จัก

5.ให้นักเรียนทำท่ากายบริหาร

ขั้นอธิบายและสาธิต

1.ครูอธิบายระบบการเล่นทีมแบบ 4-4-2 พร้อมยกตัวอย่างทีมที่ใช้ระบบการเล่นนี้

2.แบ่งกลุ่มนักเรียนให้เท่าๆกันโดยให้แต่ละกลุ่มเลือกหัวหน้าทีม

3.ให้นักเรียนเลือกตำแหน่งการเล่นของตนเอง

4.ครูกำหนดการแข่งขัน

5.ครูอธิบายกติกาการการแข่งขันโดยให้แข่ง 2 ครึ่งเวลา พักระหว่างการเล่น 5 นาทีสามารถ เปลี่ยนตัวได้ตลอด

ขั้นฝึกปฏิบัติ

.....1.ให้นักเรียนทำการแข่งขันโดยให้เล่นในระบบ 4-4-2

.....2.เมื่อถึงช่วงพักครึ่งเวลาให้นักเรียนสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเล่นตามสภาพของทีมโดยให้หัวหน้าทีมสามารถเปลี่ยนตัวหรือควบคุมการเล่นของทีมตนเองได้อย่างเต็มที่

.....3.ให้นักเรียนทำการแข่งขันในครึ่งเวลาหลัง

ขั้นนำไปใช้

.....1.ถ้าเสมอกันให้นักเรียนเตะจุดโทษเพื่อให้ทีมที่ชนะ

.....2. ให้เลือกผู้เล่นที่จะเตะจุดโทษ 5 คน

ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ

.....1.ให้นักเรียนจัดแถวๆละเท่าๆกัน

.....2.ครูสรุปผลการเข่งขันชมเชยทีมที่เป็นฝ่ายชนะและแนะนำทีมที่เป็นฝ่ายแพ้

.....3. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย

.....4.ครูผู้สอนสั่งเลิกแถว นักเรียนปรบมือ 3 ครั้ง แล้วร้องว่า เฮ้ หัวน้าสั่งทำความเคารพ

 
.......สรุปการจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism ของวิชาพลศึกษา(ฟุตบอล)จะให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยการฝึกการเล่นทีมโดยจะให้ผู้เรียนจะมีการปะทะสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมคือ การที่ได้เล่นทีมเจอกับเหตุการณ์จริงในเกมการแข่งขันทำให้นักเรียนได้ดูดซึมเอาความรู้ที่ได้เรียนใช้ผู้เรียนเป็นผู้ที่ลงมือกระทำ มีการแก้ปัญหาในการเล่นทีม ซึ่งครูจะให้คำแนะนำในการเล่นวิธีการปรับแผนการเล่นทีม การวางตำแหน่งการเล่น ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และเข้าใจโดยการฝึกปฏิบัติจริง



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แบบประมวลรายวิชา (Course Syllabus)

ภาคต้นและภาคปลาย ปีการศึกษา 2553

ภาควิชาครุศึกษา คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

1.คณะ ศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ ภาควิชา ครุศึกษา

2.รหัสวิชา 02198321 ชื่อวิชา ภาษาไทย กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้
จำนวน 3 (2 - 2) หน่วยกิต ภาษาอังกฤษ Strategies of Learning Management

3.คำอธิบายรายวิชา (Course Description)
...ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ กลยุทธ์ในการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประเมินการเรียนรู้ที่คาดหวัง การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

Theories and concepts of learning management. Strategies of design and management of learning experiences at basic education level. Assessment of expected learning outcomes. Practicum on learning management skills in classroom.

4.วัตถุประสงค์ของวิชา
....4.1 อธิบายหลักการของทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้ได้
....4.2 ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐานได้
....4.3 สรุปสาระสำคัญของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระ การเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้
....4.4 สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้
....4.5 วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้นได้

....4.6 วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและสร้างหน่วยการเรียนรู้ได้
....4.7 สามารถออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียนได้
....4.8 จัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและ
บูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ได้
....4.9 ใช้ทักษะพื้นฐานในการสอน ใช้ระบบ รูปแบบ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ ในชั้นเรียนได้
....4.10 สามารถนำประมวลรายวิชามาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายภาคและตลอดภาคได้
....4.11 สามารถเลือกใช้ พัฒนาและสร้างสื่อ อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนได้
....4.12 วัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ได้
....4.12 สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนและจำแนกระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการประเมินผลได้

5.หัวข้อวิชา (Course Outline)

....5.1 ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้
....5.2 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและแนวคิดในการจัดการเรียนรู้อิงมาตรฐาน
....5.3 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และสาระการเรียนรู้ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
....5.4 พระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545
....5.5 การวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น
....5.6 การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้ในหลักสูตรและ Backward Design กับการสร้างหน่วยการเรียนรู้
....5.7 การจัดการเรียนรู้แบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรม หลักการประชาธิปไตยและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้
....5.8 ทักษะพื้นฐานในการสอน ระบบ รูปแบบการเรียนรู้ วิธีการและเทคนิควิทยาการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

....5.9 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
....5.10 Backward Design กับการออกแบบและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
....5.11 การใช้และการผลิตสื่อและการพัฒนานวัตกรรมในการเรียนรู้
....5.12 การบูรณาการเนื้อหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้และการบูรณาการการเรียนรู้แบบเรียนรวม
....5.13 Backward Design กับการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
....5.14 การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

6.กระบวนการจัดการเรียนรู้

....กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย : บรรยาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ประยุกต์ใช้ ระดมสมอง อภิปราย สรุป ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำงานกลุ่มและงานรายบุคคล การฝึกปฏิบัติ การฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

7.สื่อและแหล่งเรียนรู้

....7.1 เอกสารประกอบการสอนและเอกสารที่เกี่ยวข้อง
....7.2 แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
....7.3 ppt.
....7.4 Website ต่าง ๆ
....7.5 สถาบันที่ใช้ในการฝึกทักษะการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

8. การวัดผลการเรียนรู้

....การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ 10 %

....งานรายบุคคล 30 %

....งานกลุ่ม 20 %

....การสอบกลางภาค 20 %

....การสอบปลายภาค 20 %

9.การประเมินผลการเรียนรู้


เกณฑ์การให้ระดับคะแนน

80 คะแนนขึ้นไป ได้ระดับคะแนน A หรือ 4.0

75-79 คะแนน ได้ระดับคะแนน B+ หรือ 3.5

70-74 คะแนน ได้ระดับคะแนน B หรือ 3.0

65-69 คะแนน ได้ระดับคะแนน C+ หรือ 2.5

60-64 คะแนน ได้ระดับคะแนน C หรือ 2.0

55-59 คะแนน ได้ระดับคะแนน D+ หรือ 1.5